วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

มนุษยชาติที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศจีน


มนุษยชาติที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศจีน
         
 “สมัยก่อนราชวงศ์จิ๋น” หมายถึง ช่วงประวัติศาสตร์จีนอันยาวนานก่อนที่จิ๋นซีฮ่องเต้(秦始皇)จะรวมประเทศจีนเป็นหนึ่งเดียว
          เมื่อประมาณ 1,700,000 ปีที่แล้ว บรรพบุรุษชาวจีนใช้ชีวิตอยู่ในบริเวณ อำเภอหยวนโหมว(元谋县) มณฑลยูนนาน(云南) นี่ถือเป็นจุดเริ่มต้นของสังคมบรรพกาล และเมื่อประมาณ 2,070 ปีก่อนคริสต์ศักราช ราชวงศ์แรกของจีน คือ “ราชวงศ์เซี่ย (夏朝)” ได้สถาปนาขึ้น มีระยะเวลาการปกครองยาวนานถึง 400 กว่าปี
          ราชวงศ์ที่ 2 คือ “ราชวงศ์ซัง(商朝) หรือ อิน(殷朝)” (เนื่องจากในระยะแรกของราชวงศ์ซัง มีการย้ายเมืองหลวงบ่อย สุดท้ายย้ายไปที่อิน ปัจจุบันอยู่ที่เมืองอันหยาง(安阳) มณฑลเหอหนาน (河南)และปกครองอยู่อีกประมาณ 300 กว่าปี) ประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ซังถือว่าเป็นประเทศใหญ่ประเทศหนึ่งในโลกในขณะนั้น มีระยะเวลาปกครองยาวนานถึง 500 กว่าปี มีมรดกและข้อมูลทางประวัติศาสตร์อันล้ำค่ามากมายตกทอดมาสู่ปัจจุบัน เช่น อักษรบนกรดองเต่าและกระดูกสัตว์(甲骨文) เครื่องทองสัมฤทธิ์(青铜器) ฯลฯ
          ราชวงศ์ที่ 3 คือ “ราชวงศ์โจวตะวันตก(西周)” เมืองหลวงอยู่ที่เมืองซีอาน(西安)ในปัจจุบัน แต่ต่อมาเมืองหลวงของราชวงศ์โจวตะวันตกถูกพวกชนกลุ่มน้อยรุกราน จึงย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองลั่วหยาง(洛阳)ในปัจจุบัน ซึ่งในทางประวัติศาสตร์นั้นเรียกว่า “ราชวงศ์โจวตะวันออก” ราชวงศ์โจวตะวันออก และราชวงศ์โจวตะวันตกรวมระยะเวลาการปกครองยาวนานประมาณ 800 ปี ราชวงศ์ตะวันออกยังแบ่งออกเป็นยุคชุนชิวจ้านกั๋ว(春秋战国) ในสมัยยุคชุนชิว ประเทศชาติได้แตกแยกออกเป็นแคว้นเล็ก ๆ จำนวนมากมาย เมื่อถึงยุคจ้านกั๋ว ได้กลายเป็นแคว้น 7 แคว้นซึ่งมีอำนาจเข้มแข็งแคว้นเหล่านี้เมื่อได้ผ่านการปฏิรูปแล้วก็ได้กลายเป็นสังคมศักดินา ซึ่งถือเป็นการสร้างพื้นฐานการปกครองให้แก่แคว้นจิ๋น ซึ่งได้รวมประเทศจีนเป็นหนึ่งเดียวในเวลาต่อมา
          เมื่อมาเปรียบเทียบกับประวัติศาสตร์โลกแล้วจะเห็นว่า ในขณะที่อารยธรรมอียิปต์โบราณ(古埃及) อารยธรรมบาบิโลนโบราณ(古巴比伦) และอารยธรรมอินเดียโบราณ(古印度)กำลังพัฒนาก้าวหน้าขึ้นนั้น ประเทศจีนกำลังอยู่ในช่วงความเจริญทางอารยธรรมของราชวงศ์เซี่ย ราชวงศ์ซัง และราชวงศ์โจวตะวันตก ขณะที่อารยธรรมกรีก(欧洲希腊) โรมันของยุโรป(罗马城邦国家) กำลังรุ่งเรืองนั้น ก็ประจวบเหมาะเป็นยุคของความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมและความคิดในยุคชุนชิว และยุคจ้านกั๋วของประเทศจีนพอดี ในช่วงที่อารยธรรมตะวันออกและอารยธรรมตะวันตกกำลังรุ่งเรืองพร้อมกัน ดินแดนแถบเมดิเตอร์เรเนียนและประเทศจีนก็ค่อย ๆ กลายเป็นศูนย์กลางทางอารยธรรมสำคัญ 2 แห่งของโลก

เหล่ามนุษยชาติที่เก่าแก่ที่สุดในเขตประเทศจีน
中国境内最早的人类
          ประเทศจีนเป็นประเทศที่เก่าแก่และมีอารยธรรมมาช้านาน และถือได้ว่าเป็นหนึ่งในแหล่งกำเนิดของมนุษยชาติ จวบจนปัจจุบันนี้ ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีการค้นพบโครงกระดูกมนุษย์ดึกดำบรรพ์ยุคหินเก่าและโบราณสถานแหล่งวัฒนธรรมมากที่สุดในโลก ที่สำคัญคือมนุษย์หยวนโหมว มนุษย์หลานเถียน มนุษย์ปักกิ่ง และมนุษย์ถ้ำภูเขา ฯลฯ
          ในเดือนธันวาคมของปี ค.ศ.1987 สถานที่ที่อยู่ของมนุษย์วานรปักกิ่งที่โจวโข่วเตี้ยน ซึ่งได้ค้นพบกะโหลกศีรษะมนุษย์ปักกิ่งนั้น ได้ถูกบันทึกให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมขององค์กรยูเนสโกแห่งสหประชาชาติ(世界文化遗产名录)

เหล่ามนุษยชาติที่เก่าแก่ที่สุดในเขตประเทศจีน


1.   มนุษย์หยวนโหมว 元谋人 (ประมาณ 1.7ล้านปีมาแล้ว)
ปีค.ศ. 1965 ได้ขุดค้นพบฟัน ซี่ของมนุษย์หยวนโหม่ว(ตั้งชื่อตามเมืองที่ค้นพบ) ที่เมืองหยวนโหม่ว มณฑลยูนนาน ปัจจุบันถือเป็นมนุษย์ยืนตัวตรงที่เก่าแก่ที่สุด ซึ่งถูกค้นพบที่ประเทศจีน

              

                        มนุษย์หยวนโหมว 元谋人

2.   มนุษย์หลานเถียน 蓝田人 (ประมาณ 1.5ล้านปีมาแล้ว)
ปี ค.ศ. 1963 ได้พบมนุษย์หลานเถียน ที่มณฑลส่านซี ห่างจากเมืองหลวงซีอันไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 60 กิโลเมตรโดยมนุษย์หลานเถียนมีหัวกะโหลกหนาและขากรรไกรยื่นออกมามากกว่ามนุษย์ปักกิ่ง หัวกะโหลกของมนุษย์หลานเถียนสามารถบรรจุสมองได้ประมาณ 780 ซีซี  เป็นมนุษย์ที่สามารถเดินตัวตรงได้อย่างสมบูรณ์         
   มนุษย์หลานเถียน 蓝田人

3.   มนุษย์ปักกิ่ง 北京人 (ประมาณ 7-2 แสนปีมาแล้ว)
ปีค.ศ. 1929 ได้พบซากมนุษย์ปักกิ่ง ในถ้ำเขาหลงกุซาน หมู่บ้านโข่วเตี้ยน ห่างจากกรุงปักกิ่งทางตะวันตกเฉียงใต้ไปประมาณ 45 กิโลเมตร การค้นพบครั้งต่อๆมา ก็ได้ค้นพบซากมนุษย์ปักกิ่งอีกจำนวนมาก ทั้งชายและหญิง โดยเพศชายจะมีส่วนสูงประมาณ 1.558เมตร เพศหญิงจะมีส่วนสูงประมาณ 1.435 เมตร ใบหน้าสั้น ปากยื่นและคางหุบเข้า หน้าผากลาดต่ำ หัวกะโหลกหนา หัวกะโหลกของมนุษย์ปักกิ่งสามารถบรรจุสมองได้ประมาณ 1,057 ซีซี มนุษย์ปักกิ่งสามารถเดินและวิ่งตรงได้แล้วแต่หลังค่อม อาศัยอยู่กันเป็นหมู่เหล่าในถ้ำ สามารถใช้ไฟ ผลิตและใช้เครื่องหินได้          
                              มนุษย์ปักกิ่ง 北京人

4.   มนุษย์ต้าลี่ 大荔人 (ประมาณ 3-2 แสนปีมาแล้ว)
เป็นต้นแบบของการเปลี่ยนแปลงจากมนุษย์วานรมาเป็นมนุษย์โบราณ
       
                              มนุษย์ต้าลี่ 大荔人

5.   มนุษย์ถ้ำภูเขา 山顶洞人 (ประมาณ 18,000 ปีมาแล้ว)
กะโหลกศีรษะบรรจุสมองได้ประมาณ 1,300-1,500 หน้าผากสูงขึ้น กะโหลกศีรษะบางลง กระดูกสันคิ้วบางและลาดกว่ามนุษย์ปักกิ่ง ฟันซี่เล็กลง ปากไม่ยื่นออกมามากเท่ามนุษย์ปักกิ่ง ขากรรไกรล่างกับกระดูกตรงสันจมูกสูงเหมือนมนุษย์ในปัจจุบัน  เครื่องมือเครื่องใช้ก็ประณีต เช่น เข็มหิน ที่สันนิฐานกันว่าสามารถใช้เย็บหนังสัตว์ได้ นอกจากนี้ยังมีเครื่องประดับต่างๆที่ทำมาจากหินที่มีลักษณะคล้ายลูกปัด มนุษย์ถ้ำตอนบนหาเลี้ยงชีพด้วยการล่าสัตว์และหาปลามาเป็นอาหาร บริเวณถ้ำที่พบมนุษย์ถ้ำตอนบนนั้น ถ้ำมีลักษณะที่แบ่งได้เป็น ชั้น คือชั้นบนกับชั้นล่าง โดยชั้นบนใช้เป็นที่อาศัย ชั้นล่างใช้เป็นที่ฝังศพ รอบๆศพได้พบเครื่องมือเครื่องใช้โดยรอบ แสดงว่ามนุษย์ถ้ำตอนบน มีความเชื่อเรื่องชีวิตหลังความตาย จึงต้องนำของใช้ให้ผู้ตายติดตัวไปด้วย รูปร่างหน้าตาคล้ายกับคนในยุคปัจจุบัน ถ้าหากให้พวกเค้าสวมเสื้อผ้า และเครื่องประดับของคนในยุคปัจจุบัน และมายืนอยู่กับพวกเราด้วยกัน ไม่ว่าใครก็จะไม่มองพวกเขาด้วยสายตาแปลกประหลาดอย่างแน่นอน
         



แหล่งที่มา : http://www.jiewfudao.com/



诸葛亮 จูเก่อเลี่ยง

                


                      诸葛亮 จูเก่อเลี่ยง




                                     
          จูเก่อเลี่ยง(诸葛亮)เป็นนักการเมือง(政治家)และนักการทหาร(军事家)ที่ยอดเยี่ยม
จูเก่อเลี่ยง สมญานามข่งหมิง (ขงเบ้ง孔明มีอีกชื่อหนึ่งว่า ว่อหลง(卧龙ซึ่งหมายความว่า มังกรที่นอนอยู่ เป็นคนหลางหยาหยางตู (琅呀阳都)(อำเภอหยีหนัน沂南 มณฑลซานตง山东ในปัจจุบัน)โดยกำเนิด เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของจูเก๋อกุย ขุนนางตงฉินของพระเจ้าเหี้ยนเต้ จูกัดเหลียงมีพี่ชายและน้องชายอย่างละคน  จูเก่อเลี่ยงมีอุปนิสัยและความคิดที่ฉลาดปราดเปรื่อง ใจคอเยือกเย็นมีเมตตา ชอบอวดอ้างและลองดีกับผู้ที่มีนิสัยกล่าวโอ้อวดตนเอง อุดมด้วยวาทะศิลป์ ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบกับชาวบ้านที่เชิงเขาโงลังกั๋ง โดยช่วยเหลือชาวบ้านในการทำนาต่าง ๆ จนเป็นที่นับถือของชาวบ้าน
ภายหลังจูเก่อเลี่ยง ได้อาศัยอยู่ที่หลงจง(隆中ที่นั่น เขาได้อ่านหนังสือจำนวนมหาศาล ด้วยการศึกษาวิจัยอย่างละเอียด เขาได้ศึกษาความรู้รอบด้าน และเชี่ยวชาญยุทธวิธีในการศึกสงคราม เขามีวิสัยทัศน์กว้างไกล ปรารถนาที่จะมีส่วนร่วมในการรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่น จูเก่อเลี่ยงยังมีความสนใจในการสังเกตและวิเคราะห์สภาพสังคม และสะสมความรู้ด้านการบริหารประเทศและการบัญชาทหารอย่างสมบูรณ์
   
                  เฉาเชา(曹操)                                      
          ต่อมาเฉาเชา(曹操)ได้รวมภาคเหนือของจีนเข้าไว้ด้วยกันและพร้อมที่จะยกพลไปสู่ภาคใต้เพื่อรวมจีนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในขณะเดียวกัน ซุนฉวน (ซุนกวน孙权)ได้มีอำนาจแถบลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงตอนกลางและตอนล่าง(长江中下游ส่วนหลิวเป้ย(刘备)ประจำอยู่ที่เมืองจิงโจว(荆州)มีอำนาจอ่อนแอที่สุด เขาจึงได้ไปเชิญจูเก่อเลี่ยงถึง 3 รอบ เพื่อขอความช่วยเหลือจากจูเก่อเลี่ยง ซึ่งขณะนั้นมีอายุแค่ 27 ปี จูเก่อเลี่ยงได้วิเคราะห์สถานการณ์ในแหล่งหล้าให้หลิวเป้ยฟังอย่างละเอียดครบถ้วน และเสนอยุทธวิธีโดยให้ร่วมมือกับซุนฉวนเพื่อโจมตีเฉาเชาด้วยกัน หลังจากได้ฟังการวิเคราะห์ที่แจ่มแจ้งลึกซึ้งของจูเก่อเลี่ยงแล้ว หลิวเป้ยเข้าใจทันที่ และคิดว่าเขาเป็นบุคลากรที่หายาก จึงได้เชิญเขาออกไปช่วยเหลือตนเองเพื่อฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่นด้วยความจริงใจ
                           
                                                      หลิวเป้ย(刘备)
          ต่อมา หลิวเป้ยได้ชัยชนะสงครามชื่อปี้(赤壁之战โดยปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของจูเก่อเลี่ยง จึงสามารถขยายอำนาจของตนได้เข้มแข็งยิ่งขึ้น
         
                                                   สงครามชื่อปี้(赤壁之战)
          ไม่นานหลังจากหลิวเป้ยตั้งตนเป็นกษัตริย์แล้ว เขาก็ป่วยตายที่เมืองไป๋ตี้เฉิง(白帝城ก่อนสิ้นลมหายใจ หลิวเป้ยได้มอบอำนาจของก๊กสู่(属国)ให้กับจูเก่อเลี่ยง จูเก่อเลี่ยงได้ช่วยเหลือกษัตริย์องค์ใหม่หลิวฉัน(刘禅บุตรชายของหลิวเป้ยอย่างเต็มที่ ขณะนั้น ชนกลุ่มน้อยทางตะวันตกเฉียงใต้ถือโอกาสนี้ก่อการกบฏ เมื่อปี ค.ศ.225 จูเก่อเลี่ยงได้นำกองทัพลงใต้ด้วยตนเองใช้กลไกระงับกรณีพิพาทลงอย่างสันติ ยังได้เป็นที่เชื่อถือของประมุขเมิ่งฮั่ว(孟获)ของชนกลุ่มน้อยด้วย หลังจากนั้น จูเก่อเลี่ยงได้แต่งตั้งประมุขชนกลุ่มน้อยเป็นผู้บริหารผู้คนท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างก๊กสู่กับชนกลุ่มน้อยจึงพัฒนาได้เป็นอย่างดี ในขณะเดียวกัน เขายังปฏิบัติการปฏิรูป คัดเลือกบุคลากรที่มีความสามารถ ส่งเสริมการก่อสร้างระบบชลประทานและการพัฒนาเกษตรกรรมและกำหนดระเบียบวินัยกองทัพให้เข้มงวดยิ่งขึ้น จึงทำให้ก๊กสู่รอดพ้นจากวิกฤตอย่างรวดเร็ว
        
                           หลิวฉัน(刘禅)                                            เมิ่งฮั่ว(孟获)
          ต่อมา เพื่อการรวมจีนเป็นเอกราช จูเก่อเลี่ยงเดินทัพไปโจมตีก๊กเว่ย(魏国)ทางเหนือ 6 ครั้ง แต่ล้วนประสบความล้มเหลว ในการโจมตีก๊กเว่ยครั้งสุดท้าย จูเก่อเลี่ยงป่วยตายในค่ายทหารที่อู่จั้งหยวน(五丈原ด้วยเหตุที่เหน็ดเหนื่อยเกินไป
          ในสายตาของชาวจีน จูเก่อเลี่ยงเป็นคนที่มีสติปัญญา เรื่องราวของเขาเป็นที่เล่าสู่กันฟังอย่างกว้างขวาง

อ้างอิงจาก
·         หนังสือ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ประเทศจีน (中国历史常识)” – The Overseas Chinese Affairs Office of the State Council / The Office of Chinese Language Council International. – สำนักพิมพ์สุขภาพใจ
·         http://th.wikipedia.org
·         http://game.qhnews.com/GameZone/cangtian/npc10.htm
·         http://www.e3ol.com/biography/html/%E5%AD%9F%E8%8E%B7/

จิ๋นซีฮ่องเต้ พระจักรพรรดิองค์แรกของจีน


    
จิ๋นซีฮ่องเต้ พระจักรพรรดิองค์แรกของจีน  

        
       
  แคว้นจิ๋นหรือแคว้นฉิน()เพิ่งได้รับการมอบที่ดินและตั้งเป็นแคว้นจิ๋นเมื่อปี 770 ก่อนคริสต์ศักราช โดยตั้งอยู่ทางตะวันตกของจีน ในขณะนั้นแคว้นจิ๋นมีอาณาเขตน้อย อำนาจแห่งแคว้นไม่เข้มแข็ง เพราะฉะนั้นจึงถูกบรรดาผู้ครองแคว้นบริเวณที่ราบตอนกลางดูถูกเรื่อยมา ทว่าตั้งแต่ได้ดำเนินการปฏิรูปซังยัง(商鞅)เป็นต้นมา อำนาจแห่งแคว้นก็เริ่มเข้มแข็งขึ้น และได้ก้าวขึ้นเป็นแคว้นที่ยิ่งใหญ่ในเจ็ดแคว้นแห่งยุคจั้นกั๋ว(占国七雄中的强国) อย่างรวดเร็ว เมื่อพระเจ้าอิ๋งเจิ้ง(赢政)ได้ขึ้นปกครองแคว้น ก็ได้เปิดศึกสงครามขนาดใหญ่ พระเจ้าอิ๋งเจิ้งได้ทรงเริ่มทำสงครามกับแคว้นอื่น ๆ  ตั้งแต่ปี 230 ก่อนคริสต์ศักราช ภายในระยะเวลา 10 ปี พระองค์ได้ทรงปราบแคว้นหาน() แคว้นจ้าว() แคว้นเว่ย() แคว้นฉู่() เคว้นเยียน() และแคว้นฉี(และในปี 221 ก่อนคริสต์ศักราชก็ได้ทรงรวมหกแคว้นนี้ให้เป็น 1 เดียว
          พระเจ้าอิ๋งเจิ้งทรงหวังว่าอำนาจการปกครองของจิ๋นจะสามารถคงอยู่ตลอดไป จึงได้ขนานนามตนเองว่า “ปฐมจักรพรรดิ(始皇帝) ผู้ที่จะมาสืบต่อตำแหน่งก็จะขนานนามว่ารัชกาลที่ 2(二世)  รัชกาลที่ 3(三世)   จนกระทั้งรัชกาลที่พันที่หมื่น ดังนั้นในทางประวัติศาสตร์จึงขนานนามพระเจ้าอิ๋งเจิ้งว่า “จิ๋นซีฮ่องเต้(秦始皇)” (ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์จิ๋น) (ปี 259 ก่อนคริสต์ศักราช – ปี 210 ก่อนปีคริสต์ศักราช)
          หลังจากที่จิ๋นซีฮ่องเต้ทรงรวมจีนเป็นหนึ่งเดียวแล้ว พระองค์ก็ได้ทรงดำเนินนโยบายจำนวนมากในการทำให้ประเทศชาติมั่นคงและเป็นหนึ่งเดียวกัน สำหรับส่วนกลางได้มีการจัดตั้งขุนนางตำแหน่งต่าง ๆ  เช่น เฉิงเซี่ยง(丞相) ยวี่สื่อต้าฟู(御史大夫) และไท่เว่ย(太尉)ฯลฯ เฉิงเซี่ยง มีหน้าที่ช่วยเหลือพระมหากษัตริย์บริหารประเทศ ยวี่สื่อต้าฟูรับผิดชอบตรวจสอบบรรดาขุนนางทุกระดับ ไท่เว่ยดูแลการทหาร โดยพระมหากษัตริย์เป็นผู้มีพระราชอำนาจแต่งตั้งและยกเลิกตำแหน่งขุนนางเหล่านี้ ในส่วนของรัฐบาลท้องถิ่น ได้ยกเลิกระบอบแบ่งที่ดินซึ้งใช้กันมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซัง()และราชวงศ์โจว() แต่ใช้ระบอบปกครองตาม “จวิ้น()”(จังหวัด) “เสี้ยน()”(อำเภอ) แทน กล่าวคือ ทั้งประเทศแบ่งออกเป็น 36 จังหวัด (ต่อมาเพิ่มขึ้นเป็น 40 กว่าจังหวัด) รองจากจังหวัดก็เป็นอำเภอ มีขุนนางปกครองดูแลชาวบ้านเรียกว่า “จุ้นโส่ว(郡守)”  (ผู้ว่าราชการจังหวัด) “เสี้ยนลิ่ง(县令)”(นายอำเภอ) พระมหากษัตริย์เป็นผู้มีพระราชอำนาจแต่งตั้งและยกเลิกตำแหน่งดังกล่าวเช่นกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ อำนาจการปกครองทั้งประเทศจึงตกอยู่ในมือของพระมหากษัตริย์แต่เพียงผู้เดียว หลังจากที่จิ๋นซีฮ่องเต้รวมจีนเป็นหนึ่ง พระองค์ได้ทรงบังคับใช้กฎหมายของแคว้นจิ๋นที่มีอยู่เดิมกับทุกพื้นที่ทั้งประเทศ ทำให้กฎหมาย(法律)ของทั้งประเทศรวมเป็นหนึ่งเดียวกับกฎหมายของแคว้นจิ๋นในยุคจั้นกั๋ว ระบบมาตรการชั่งวัดตวง(度量衡)ให้เหมือนกันทั้งประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการวัด(长度) การตวง(容量) การชั่ง(重量) ล้วนมีมาตรฐานเดียวกัน ทำให้เศรษฐกิจเจริญก้าวหน้า ราชวงศ์จิ๋นยังออกบัญญัติใช้เงินตราสกุลเดียวกัน(统一货币) รัฐบาลจิ๋นได้ประกาศให้ใช้เงินของแคว้นจิ๋น ซึ่งมีรูปร่างเป็นวงกลมและมีรูปสี่เหลี่ยมตรงกลางเป็นเงินของประเทศ นโยบายนี้เป็นประโยชน์อย่างมากต่อการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจของชนชาติต่าง ๆ  ทั่วประเทศและในสมัยราชวงศ์ต่อ ๆ มา ก็ล้วนใช้เงินทองสัมฤทธิ์(铜钱)ตามแบบอย่างของราชวงศ์จิ๋นทั้งสิ้น
    
                            ตัวอย่างเงินทองสัมฤทธิ์สมัยราชวงศ์จิ๋น
          จิ๋นซีฮ่องเต้ยังทรงประกาศให้ปรับตัวอักษรจีนให้เป็นแบบเดียวกัน(统一文字)ทั้งประเทศ ยึดเอาตัวอักษรแบบ “เสี่ยวจ้วน(小篆)” ซึ่งได้ผ่านการย่อมาแล้วให้เป็นแบบอักษรมาตรฐานใช้ทั่วประเทศ ต่อมาก็มีแบบอักษรที่เขียนง่ายกว่าเสี่ยวจ้วนเกิดขึ้นอีก เรียกว่า“ลี่ซู    (隶书)” สำหรับแบบตัวอักษร “ไข่ซู(楷书)” (ตัวอักษรมาตรฐาน) ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้น ก็ได้พัฒนามาจากลี่ซูนี้เอง การปรับตัวอักษรจีนให้เป็นแบบเดียวกันทั้งประเทศนั้นได้เร่งให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้น
    
                             ตัวอักษรแบบ “เสี่ยวจ้วน(小篆)”
        
                             แบบอักษร “ลี่ซู    (隶书)”
      
                                  แบบตัวอักษร “ไข่ซู(楷书)”
          ในปี 213 ก่อนคริสต์ศักราช อัครมหาเสนาบดีหลี่ซือ(李斯)คิดว่าเมื่อชาวบ้านได้อ่านหนังสือเก่า ๆ แล้ว ก็จะใช้ความคิดต่าง ๆ ในหนังสือมาวิจารณ์เหตุการณ์ในขณะนั้นได้ ซึ่งจะทำให้เกิดอุปสรรคต่อการปกครองของราชสำนัก เขาจึงเสนอหนังสือที่ชาวบ้านจะเก็บไว้ได้ คือ หนังสือด้านการแพทย์และยา(医药) หนังสือด้านการป่าไม้และเกษตร(种植) ฯลฯ นอกเหนือจากหนังสือประเภทดังกล่าวนี้ โดยเฉพาะหนังสือประวัติศาสตร์ของแคว้นต่าง ๆ และหนังสือของปราชญ์เมธี จำเป็นต้องนำไปเผาทิ้งทั้งหมด จิ๋นซีฮ่องเต้ทรงดำเนินการตามข้อเสนอของเขา ในปีต่อมา ปัญญาชนบางคนได้วิจารณ์กันอย่างลับ ๆ เกี่ยวกับการกระทำอันไม่สมเหตุสมผลของจิ๋นซีฮ่องเต้ เมื่อทรงทราบดังนั้น จิ๋นซีฮ่องเต้จึงได้ทรงรับสั่งตามจับปัญญาชนพวกนั้น ซึ่งภายหลังจับมาได้ 460 กว่าคน ในที่สุดก็ได้ลงโทษโดยการฝั่งทั้งเป็น เหตุการณ์ทั้งสองเรื่องนี้ ทางประวัติศาสตร์เรียกว่า “เผาหนังสือ ฝังปัญญาชน(焚书坑儒)”
      

                                อัครมหาเสนาบดีหลี่ซือ(李斯)
          จิ๋นซีฮ่องเต้ ทรงส่งเหมิงเถียน(蒙恬) นำกองทัพไปปราบชนชาติซงหนู(匈奴) นอกจากนี้พระองค์ยังทรงออกคำสั่งให้สร้างกำแพงเมืองจีน(长城)เพื่อป้องกันชนชาติซงหนูกลับมาโจมตีชายแดนอีกรอบ และทำให้ชนชาติเย่ว์(越族)ในตอนใต้ยอมอยู่ภายใต้การปกครองของจิ๋น ซึ่งส่งผลให้การไปมาหาสู่ระหว่างชนชาติขยายขอบเขตมากขึ้น
              

                                   เหมิงเถียน(蒙恬)
         การที่จิ๋นซีฮ่องเต้ ได้รวมจีนเป็นหนึ่ง ทำให้ภาวการณ์แย่งอำนาจของบรรดาผู้ครองแคว้นซึ่งกินเวลามายาวนานได้สิ้นสุดลง และยังสถาปนาประเทศจีนซึ่งเป็นสังคมศักดินาและมีหลากหลายชนชาติรวมกันเป็นหนึ่งเดียวได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์จีน ดินแดนของอาณาจักรสมัยราชวงศ์จิ๋นกินพื้นที่ ทางตะวันออกไปถึงทะเล ทางตะวันตกไปถึงฝั่งตะวันตกของมณฑลกานซู ทางเหนือไปถึงบริเวณกำแพงเมืองจีน และทางใต้ไปถึงทะเลใต้ มีประชากรทั้งสิ้นกว่า 20 ล้านคน

อ้างอิงจาก

*  หนังสือ “ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ประเทศจีน (中国历史常识)” – The Overseas Chinese Affairs Office of the State Council / The Office of Chinese Language Council International. – สำนักพิมพ์สุขภาพใจ
* http://ent.sina.com.cn/j/2008-06-26/11082076298.shtml
*  http://space.tv.cctv.com/act/article.jsp?articleId=ARTI1238507570535321&nowpage=12
* http://ahstbzp.blog.163.com/blog/static/25954084201002010493541/*  http://www.2sd.cn/ls.htm
*  http://big5.china.com/gate/big5/military.china.com/zh_cn/dljl/qinchao/01/11044447/20090707/15551414.html
*  http://www.21qxxb.com/Content/
* http://item.taobao.com/auction/item_detail-0db2-f1b1f27945d4d86872c766b286f62949.htm